วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างทางจิตพบว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย

นอกจากนี้ ฟรอยด์ ยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างทางจิตพบว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย

1. อิด (Id)
2. อีโก้ (Ego)
3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superrgo)

1. อิด (Id) หมายถึงตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ซึ่งทำให้ มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทำตามหลักของความพอใจ (Pleasure principle)
เปรียบเหมือนสันดานดิบของ มนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น สัญชาติญาณ แห่งการมีชีวิต (Life instinct) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย กับสัญชาติญาณแห่ง ความตาย (Death instinct) เช่น ความก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น บุคคล จะแสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ของเขาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคม และ ความพอใจของ บุคคลอื่นจึงมักเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของมาตรฐานในสังคม บุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้ มักได้รับการประนามว่ามีบุคลิกภาพไม่ดี หรือไม่เหมาะสม

2. อีโก้ (Ego) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยกฏเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกตามความพอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุผลด้วยนั่นคือบุคคลจะแสดงพฤติกรรม โดยมีเหตุและผล ที่เหมาะสมกับกาละเทศะใน สังคม จึงเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการยอมรับมากในสังคม ในคนปรกติที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ฟรอยด์ เชื่อว่าเป็นเพราะมีโครงสร้าง ส่วนนี้แข็งแรง

3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ใน สังคมนั้น Superego จะเป็นตัวบังคับ และควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม โดยยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value principle)ที่ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคมกล่าวคือบุคคล จะแสดงพฤติกรรมตาม ขอบเขตที่สังคมวางไว้ แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะ สม เช่น เมื่อถูกยุงกัดเต็มแขน - ขา ก็ไม่ยอมตบยุง เพราะกลัวบาป หรือสงสารคนขอทานให้เงินเขาไปจนหมด ในขณะที่ ตนเองหิวข้าวไม่มีเงินจะ ซื้ออาหารกินก็ยอมทนหิว เป็นต้น
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 122 - 123) กล่าวว่าใครก็ตามที่มีบุคลิกภาพ เช่นนี้มักได้รับการยกย่อง ทั้งนี้เพราะบางครั้งพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นอาจเกิดความไม่พอใจในตนเอง แต่เพื่อ ต้องการให้เป็นที่ ยอมรับในสังคม ดังนั้นแม้เขาแสดงพฤติกรรมบาง อย่างที่ขัดต่อ ค่านิยมของสังคม เขาจะเกิดความรู้สึกผิด (Guilt feeling or Guilty) ทันทีถ้าไม่มีการ ระบายออกเก็บกดไว้ มาก ๆ อาจระเบิดออกมากลายเป็นโรค ผิดปรกติทางจิตได้
ฟรอยด์ กล่าวว่าในบุคคลทั่วไปมักมีโครงสร้างทั้ง 3 ส่วนนี้แต่ส่วนที่แข็งแรงที่สุด มักเป็นอีโก้ ซึ่งทำหน้าที่คอย ประนีประนอมระหว่างอิดและซุปเปอร์อีโก้ให้แสดงออกตามความ เหมาะสมของสถานการณ์ ในขณะนั้น เช่น คอยกดอิดมิ ให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เมื่อยังไม่ถึงเวลาหรือคอยดึงซุปเปอร์ อีโก้ไว้มิให้แสดงพฤติกรรมที่ดีงามจนเกินไป จนตนเอง เดือดร้อน ถ้าคนที่มีจิตผิดปรกติ เช่นเป็นโรคจิต โรคประสาท คือคนที่อีโก้แตก (Break down) ไม่สามารถคุม อิดและซุปเปอร์อีโก้ไว้ได้ มักจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับกาละเทศะกับเหตุผล เช่น เกิดอาการคุ้มดีคุ้มร้าย คุ้มดีคือส่วนของซุปเปอร์ อีโก้แสดงออกมา คุ้มร้ายคือส่วนของอิดแสดงออกมา ฯลฯ

ดร. อารี รังสินันท์ (2530 : 15 - 16) กล่าวว่าโครงสร้างจิต 3 ระบบนี้มีส่วนสัมพันธ์กัน ถ้าทำงาน สัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกัน บุคคลก็จะมีพฤติกรรมหรือ บุคลิกภาพที่ไม่ราบรื่นปกติ หรือไม่เหมาะสม แนวความคิดกลุ่มนี้เน้น จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) จิตไร้สำนึกนี้จะ รวบรวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของ จิตไม่ต้องการจะจดจำ จึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไว้อยู่ในจิตส่วนนี้ และหากความคิด ความต้องการหรือ เกิดพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว
อนึ่ง ประสบการณ์ในชีวิตวัยเด็ก โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึง 5 ขวบที่เกี่ยวกับการอบรม เลี้ยงดู ที่ได้รับ จะฝังแน่น อยู่ในจิตไร้สำนึก และอาจจะแสดงออกเมื่อถูกกระตุ้น โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่
ฟรอยด์ บอกว่า จิตไร้สำนึกเป็นสาเหตุให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมและพฤติกรรม ที่ฝังแน่นในอดีต เป็นเหตุให้แสดง พฤติกรรมออกมาในปัจจุบันและอนาคต อนึ่ง พฤติกรรม ทั้งหลายที่แสดงออกมานั้น ท้ายที่สุดก็เพื่อตอบสนองความต้อง การทางเพศ (Sexual need) นั่นเอง

ฟรอยด์ เน้นประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กมาก โดยเฉพาะในช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ ประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้รับในช่วงนี้ โดยเฉพาะสิ่งที่ประทับใจ วิธีการอบรม เลี้ยงดู มักจะฝังแน่นอยู่ ในจิตไร้สำนึก และจะแสดงออกมาเป็น พฤติกรรมในช่วงชีวิต ที่เป็นผู้ใหญ่ต่อมาซึ่งค้านกับความเห็นของนัก จิตวิทยากลุ่มอื่นหรือนักการศึกษา ที่เชื่อว่าไม่มีผู้ใด จดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ในช่วงชีวิตตั้งแต่ 5 ขวบลงไปจนถึงแรกเกิดได้ แต่ฟรอยด์บอกว่า สิ่งเหล่านี้มิได้หาย ไปไหนแต่กลับฝังลึกลงไป ในส่วนของจิด ที่เรียกว่า จิตไร้สำนึก (กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. 2528 : 36)

ที่มาบทความ โปรโมตเว็บฟรี ประตู-หน้าต่าง กระจก-อลูมิเนียม

ไม่มีความคิดเห็น: